วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ต่อพ่วง
อุปกรณ์ต่อพ่วง หมายถึง  อุปกรณ์ต่างๆที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผลกลางและประกอบเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้
อุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิดมีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1.แผงพิมพ์อักขระเป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการกดแป้นจากนั้นก็เปลี่ยนรหัสแล้วส่งไปยังประมวลผลกลาง  แป้นพิมพ์โดยทั่วไปมี  50  แป้นขึ้นไปแบ่งเป็นแป้นตัวเลขและแป้นอักขระ
2.เมาส์ เป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่ได้รับข้อมูลจากการกดปุ่มข้างบนเมาส์ ทำหน้าที่คลิกปุ่มคำสั่งที่ต้องการ  แบ่งเป็น 2 ประเภท
2.1  เมาส์ทางกล
2.2  เมาส์แบบใช้แสง
3.อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่สามารถติดกับตัวโน๊ตบุ๊ค สะดวกในการพกพา  ซึ่งมี 3ประเภท
3.1ลูกกลมควบคุม
3.2แท่งชี้ควบคุม
3.3แผ่นรองสัมผัส
4.ก้านควบคุม เป็นอุปกรณ์ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอ มีลักษณะเป็นก้านโผล่ออกมาจากกล่อง
5.จอสัมผัส  เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการสัมผัสโดยเมื่อมีการเลือกตำแหน่งที่ถูกเลือกจะแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังซอฟต์แวร์ที่แปลคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
6.อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ  ที่นิยมใช้มีอยู่ 3ประเภท
6.1 เครื่องอ่านรหัสแท่ง อุปกรณ์รับเข้าที่ทำงานโดยหลักการของการสะท้อนแสง  เครื่องจะส่องลำเสียงไปยังรหัสบนสินค้าจากนั้นจะเปลี่ยนรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
6.2 เครื่องกราดตรวจหรือสแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทรูปภาพและข้อความที่อยู่บนสิ่งพิมพ์โดยใช้หลักสะท้อนแสง  ข้อมูลจะถูกแปลงในแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและเก็บไว้ในหน่วยความจำ
6.2กล้องดิจิทัล ทำงานเหมือนกล้องถ่ายรูปทั่วไปแต่ไม่ต้องมีฟิล์มและมีคอมแพ็กแฟลช
7.เว็บแคม เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทกล้องวีดีโอที่สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวผ่านเว็บไซค์แล้วปรากฎบนหน้าจอได้
8.จอภาพ มี2 ชนิด
1.จอภาพแบบซีอาร์ที มีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์  ทำงานโดยเทคโนโลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอน  โดยยิงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในจอเมื่อลำแสงวิ่งมาชนจะเกิดแสงสว่างขึ้น
2.จอภาพแบบแอลซีดี   ทำงานโดยอาศัยการเบี่ยงเบนแสงตามการควบคุมทิศทางของโพราไลเซชั่นของวัตถุที่กั้นระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและแผ่นเคลือบสารเรืองแสง  ป้องแรงดันเข้าไปยังแผ่นเพลตเมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้า  มีผลให้แสดงจากแหล่งกำเนิดสามารถผ่านทะลุกระทบกับสารเรืองแสงจนเกิดแสงสีที่ต้องการ
9. ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นเสียงโดยใช้งานคู่กับการด์เสียงซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นอะนาล็อกแล้วส่งไปยังลำโพง
10.หูฟังเป็นอุปกรณ์ส่งออกใช้ฟังเพลงจากคอมพิวเตอร์  ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณจากไฟฟ้าเป็นเสียง  มีทั้งชนิดไร้สายและมีสาย บางรุ่นก็จะมีไมโครโฟนสำหรับสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ตอีกด้วย    
11.  เครื่องพิมพ์  เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลงานพิมพ์ลงบนกระดาษ แบบเครื่องพิมพ์
11.1เครื่องพิมพ์แบบจุด
11.2เครื่องพิมพ์เลเซอร์
11.3เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก
11.4พล็อตเคอร์
12.  โมเด็ม   เป็นการแปลงสัญญาณเพื่อให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้โดยเชื่อมต่อคอมเข้ากับคู่สายของโทรศัพท์   แล้วโมเด็มก็จะแปลงจากสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก


 ฮาร์ดดิสก์

ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันบนพีซีทั่วไปนั้น แบ่งเป็น 2 แบบคือ IDE หรือ (E-IDE) และ SATA ซึ่งทั้ง 2 แบบ มีรูปแบบและอินเทอร์เฟชในการติดต่อข้อมูลแตกต่างกันไป แต่ในตลาด ณ เวลานี้ ส่วนใหญ่เราจะเห็นในแบบ SATA และ SATA2 กันมากกว่า โดยที่ฮาร์ดดิสก์ในแบบ IDE ดูจะถูกลดบทบาทลงอย่างมาก เหตุผลมาจากที่แมนบอร์ดในปัจจุบันมีพอร์ตสำหรับ IDE เพียงช่องเดียว ซึ่งต่ออุปกรณ์ได้ 2 ตัว แต่ตัวหนึ่งก็ถูกใช้กับออฟติคอลไดรฟ์ไปแล้ว จึงเป็นเรื่องยากในการอัพเกรด ดังนั้นแล้วการใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA จึงเป็นทางเลือกที่ดูคุ้มค่าที่สุด ด้วยความเป็นอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนโรงงานจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา การเลือกซื้อจึงควรให้การพิจารณาเป็นพิเศษ
ความจุของฮาร์ดดิสก์
แม้ว่าความจุที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันจะมีมากถึง 1000GB หรือ 1Terabyte การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมในการใช้งานและค่าใช้จ่ายเป็นหลัก เพราะถึงแม้บางครั้ง ฮาร์ดดิสก์ความจุสูงดูจะคุ้มค่ากว่าความจุที่ต่ำกว่าก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบการใช้งานของคุณก็ยังถือเป็นเรื่องสำคัญกว่าอยู่ดีโดยความจุก็มีให้เลือกตั้งแต่ 80/120/160/200/250/320/500/750 และ 1000GB ซึ่งเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม
 
ความเร็วรอบสำคัญไฉน สำหรับฮาร์ดดิสก์เดสก์ทปมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป ก็มีให้เลือกตั้งแต่ 5400rpm/7200rpm และ 10,000rpm ซึ่งที่พบกันมากที่สุดจะเป็นแบบ 7200rpm ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงบและราคาไม่แพง แต่สำหรับ 10,000rpm นั้น ส่วนใหญ่จะพบบนฮาร์ดดิสก์รุ่นพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่องานบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น การเล่นเกม ทำกราฟิกหรืองานตัดต่อ ที่ต้องการความเร็วสูงในการเปิดไฟล์หรือการดึงไฟล์ข้อมูลเพื่อเรนเดอร์ดังเช่นฮาร์ดดิสก์ Raptor จากค่าย WD หรือ Cheetah จากค่าย Saegate ด้วยความเร็วในการทำงานที่สูง จึงต้องใช้กระบวนการผลิตและวัสดุที่มีคุณภาพสูง จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้มีราคาที่แพงพอสมควร





บัฟเฟอร์สำคัญมากเพียงใด คำตอบคือ สำคัญมากทีเดียว ไม่ใช่เพียงกับการทำงานเฉพาะทางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเล่นเกม มัลติมีเดียและซอฟแวร์พื้นฐานทั่วไปอีกด้วย ด้วยการสำรองข้อมูลบางส่วนในการใช้งานเอาไว้ เพื่อที่จะเรียกใช้ได้เร็วยิ่งขึ้น และแน่นอนว่ายิ่งบัฟเฟอร์สูงกว่าราคาก็จะกระโดดไปกว่า 20% เลยทีเดียวโดยผู้ใช้ทั่วไปอาจเลือกที่ระดับมาตรฐาน 8MB ก็เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าหากต้องการประสิทธิภาพที่สูงขึ้น สำหรับเกมเมอร์หรือการตัดต่อ อาจเลือกเป็นรุ่น 16MB หรือ 32MB ก็ตอบสนองกับงานในหลายส่วนได้ดีทีเดียว





Average Seek Time
เป็นเวลาในการเข้าถึงข้อมูลโดยเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่ระบุมากับฮาร์ดดิสก์ทุกรุ่น โดยส่วนใหญ่สำหรับฮาร์ดดิสก์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 12-14msแต่ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูงก็จะอยู่ที่ 8ms ตัวเลขดังกล่าวยิ่งน้อยยิ่งหมายถึงการเข้าถึงข้อมูลที่เร็วขึ้น





อินเทอร์เฟชบนฮาร์ดดิสก์ ในตลาดเวลานี้มีให้เลือก 2 แบบด้วยกันคือ IDE และ SATA (SATA150 และ SATA300) ส่วนนี้ก็คงต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม แม้ว่าในหลายการทดสอบฮาร์ดดิสก์แบบ SATA มีความเร็วกว่า IDE เพียงไม่มาก แต่ต้องไม่ลืมว่าเมนบอร์ดในปัจจุบัน มีพอร์ตสำหรับ IDE น้อยลง ทางเลือกที่เป็น SATA ก็ดูน่าสนใจอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้การสายสัญญาณยังมีขนาดเล็ก จึงทำให้อากาศไหลเวียนภายในเคสได้ดียิ่งขึ้น



 
ฮาร์ดดิสก์แบบพิเศษ นอกจากฮาร์ดดิสก์แบบพื้นฐานที่มีจำหน่ายทั่วไปแล้ว ยังมีฮาร์ดดิสก์อีกกลุ่มหนึ่งที่ผู้ผลิตจัดทำออกมาเป็นพิเศษ เพื่องานหรือความต้องการที่แตกต่างออกไป โดยมีตั้งแต่ฮาร์ดดิสก์ที่มี NCQ หรือที่เรียกว่า Native Command Queuing ซึ่งข้อดีของฮาร์ดดิสก์ที่มีเทคโนโลยีนี้คือ การปรับปรุงการจัดเรียงข้อมูลและการอ่านข้อมูลแบบใหม่ โดยมองชุดข้อมูลที่เป็นแบบเดียวกัน รวมไว้ในจุดเดียวกัน จึงทำให้การอ่านข้อมูลมีความเร็ว ด้วยการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบยิ่งขึ้น ฮาร์ดดิสก์ประเภทสวยงาม ในแบบดังกล่าวนี้ Raptor X จากค่าย WD เป็นต้นแบบ ด้วยการผลิตให้ฝาด้านบนนี้ความใส จนมองเห็น Platter และ Spindle หมุนทำงานอยู่ เหมาะสำหรับเกมเมอร์หรือนักแต่งเคสที่ชอบความสวยงามแปลกใหม่แต่ราคาก็มหาโหดเช่นกัน ฮาร์ดดิสก์สุดอึด ปัจจุบันมีงานหลายส่วนที่มักใช้คอมพ์ตลอด 24ชั่วโมง ด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่องนี้เอง มีส่วนทำให้อายุการใช้งานของฮาร์ดดิสก์สั้นลง ดังนั้นแล้วจึงมีการออกแบบฮาร์ดดิสก์ที่เรียกว่า Enterprise หรือที่เรียกว่า 24/7 ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีความทนทานสูง ใช้งานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยมีฮาร์ดดิสก์จาก WD ในรหัส RE และ Seagate Barracuda ES ทำตลาดอยู่สุดท้ายจะเป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับเกมเมอร์โดยเฉพาะจุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ มีบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่มากถึง 32MB ซึ่งปกติจะมีเพียง 8MB หรือ 16MB เท่านั้น โดยมีในฮาร์ดดิสก์จากค่าย Seagate Barracuda 7200.11 ส่วนเรื่องราคาก็ไม่ถือว่าสูงมากนัก





วิธีตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ได้อย่างง่ายๆ
สามารถใช้โปรแกรม HDTuneทดสอบประสิทธิภาพและความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์ ด้วยการมอนิเตอร์ให้เห็นอย่างชัดเจนซึ่งดาวน์โหลดได้ที่
http://www.hdtune.xom/ หรือจะบริหารข้อมูลและไดรฟ์ได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบ Manage ของระบบวินโดวส์ ด้วยการเมาส์ขวาที่ My Computer จากนั้นเลือกหัวข้อ Manage





ข้อมูลจาก : หนังสือช่างคอมพ์เลือกซื้ออุปกรณ์ COMPUTER.TODAY


ประเภทของฮาร์ดดิสก์

ฮาร์ดดิสก์ได้มีพัฒนาการในการเชื่อมต่อหรืออินเตอร์เฟสมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ทำงานเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  สำหรับรูปแบบการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มี 3 รูปแบบคือ แบบ IDE ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็นแบบ EIDE ( Enhanced  IDE)  สำหรับเครื่องทั่วไป แบบ SCSI นิยมใช้ Server  และWorkstation  และ แบบ Serial ATA เป็นมาตรฐานใหม่ของฮาร์ดดิสก์  สำหรับเครื่อง PC  ทั่วไปมีความเร็วสูงและมีการเชื่อมต่อที่ง่ายกว่าเดิม

ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE (EIDE)


        
ฮาร์ดดิสก์ที่เรียกว่าแบบ IDE ปัจจุบันเป็นแบบ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronic) ทั้งสิ้น โดยพัฒนาต่อจากแบบ IDE เดิม ซึ่งมีข้อจำกัดไม่สามารถทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุไม่เกิน 528 MB ได้
ฮาร์ดดิสก์ในมาตรฐานนี้มีหลายความเร็วได้แก่ Ultra ATA (Ultra DMA)/33,/66,/100,/133ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล33,66,100,133, MB/s ตามลำดับฮาร์ดดิสก์แบบ ATA/33 จะเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดด้วยสายแพแบบ 40 เส้นส่วนฮาร์ดดิสก์ ATA/66/100/133 จะเชื่อมต่อด้วยสายแพแบบ 80 เส้นโดยปกติบนเมนบอร์ดจะมีช่องต่อ IDE มาให้ 2 ช่องคือ IDE1 และ IDE2ซึ่งแต่ละช่องต่อจะติดตั้งฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ลูกซึ่งแต่ละลูกจะต้องกำหนดลำดับโดยจัมเปอร์เป็น “Master”และ“Slave” ให้ถูกต้องจึงจะใช้งานฮาร์ดดิสก์นั้นได้

ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI


         
ย่อมาจาก Small Computer Interface เป็นฮาร์ดดิสก์ซึ่งมีความเร็วสูงสามารถรับส่งข้อมูลได้เกินกว่า 160 MB/s จะต้องใช้ร่วมกับตัวควบคุมที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสริมโดยในช่วงแรกใช้สายแพเชื่อมต่อกับการ์ดแบบ 50 เส้น แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนามาเป็นมาตรฐาน SCSI 2  และ 3 ได้เปลี่ยนมาใช้สายแพสำหรับเชื่อมต่อซึ่งเป็นแบบ 68 เส้น
การ์ดเสริม (SCSI) นอกจากจะใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI ได้แล้ว ยังสามารถใช้พ่วงต่อกับอุปกรณ์ SCSI อื่นๆได้อีกรวม 7-15 ตัว แต่เนื่องจากมีราคาแพงและต้องใช้ร่วมกับการ์ดควบคุม (SCSI Card) จึงนิยมใช้งานเฉพาะกับเครื่อง Server สำหรับควบคุมเครือข่าย
ฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA



ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA เป็นอินเตอร์เฟสรูปแบบใหม่ที่ใช้การรับส่งข้อมูลในแบบอนุกรม (IDE ใช้การรับส่งข้อมูลในแบบขนาน) จึงทำให้สามารถเพิ่มความเร็วได้มากกว่าแบบ IDE โดย Serial ATA 1.0 สามารถส่งข้อมูลได้ความเร็วสูงถึง 150MB/s และจะสูงถึง 300 และ 600 MB/s ใน SATA เวอร์ชั่น 2 และ 3 ต่อไป


USB (Universal Serial Bus)

 
     USB ย่อมาจากคำว่า Universal Serial Bus ครั้งหนึ่งเคยมีคนหยามว่าเป็นแค่เทคโนโลยีแก้ขัด และมองหาอนาคตไม่เจอเหมือนกับพระเอกเลยค่ะ ที่ต้องโดนเหยียดหยามก่อนแล้วค่อยประกาศตัวว่า “เป็นร้อยตำรวจเอกปลอมตัวมา” กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าเจ้าเทคโนโลยีแก้ขัดนี้กลายเป็นพระเอกเต็มตัวค่ะ แม้บางคนยังค่อนขอดว่าสู้เทคโนโลยี FireWire ไม่ได้ แต่เรื่องจริงก็ปรากฏอยู่แล้วค่ะ ว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ ผู้นำทางด้านอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์หลายเจ้า ช่วยกันวางมาตรฐานร่วมกัน โดยในยุคเริ่มแรกนั้นมี COMPAQ, IBM, DEC, Intel, Microsoft, NEC และ Northern Telecom ซึ่งแค่เห็นชื่อบริษัทเหล่านี้ก็พอจะเชื่อขนมกินได้แล้วล่ะค่ะว่าอนาคตของ USB ไม่ดับแน่ๆ
     ระยะแรกอาจจะลำบากนิดหนึ่ง แต่เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเกิดปัญหากับระบบปฏิบัติการเก่า ๆ บน Windows และ Macintosh และนับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2539 (ค.ศ.1996) เป็นต้นมา ระบบปฏิบัติการ Windows ก็เริ่มรู้จัก USB แล้ว แต่ยังต้องลง Driver เสริม และ Patch ของระบบปฏิบัติการด้วย ซึ่งพอมาถึงยุคตั้งแต่ Windows 98 Second Edition เป็นต้นมา Driver ของ USB ก็ถูกรวมเข้าไว้ในระบบปฏิบัติการเลย และเป็น Driver แบบอเนกประสงค์อีกด้วย กล่าวคือ ระบบปฏิบัติการจะรู้จักกับอุปกรณ์ USB ตามมาตรฐานทุกตัว โดยไม่จำเป็นต้องลง Driver เสริมอีกต่อไป
      มาตรฐานของ USB นั้นออกมาอวดโฉมต่อชาวโลกเป็นครั้งแรก ด้วย Revision 0.7 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2537 (ค.ศ. 1994) และหลังจากนั้นก็ได้ปรับปรุงแก้ไขเรื่อยมา จนกระทั่งออกมาเป็น Revision 1.0 ได้สำเร็จ ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2539 (ค.ศ.1996) และได้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จนได้เป็น Revision 1.1 เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2541 (ค.ศ.1998) ซึ่งก็ได้กลายเป็นรากฐานของมาตรฐาน USB ที่สำคัญที่ยังคงใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก้าวไปถึงระดับ USB 2.0 แล้วค่ะ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000) 4 ปีเอง และเมื่อเร็วๆ นี้กับเทคโนโลยี USB 3.0 ค่ะ
     สำหรับบริษัทต่างๆ ที่ร่วมกันพัฒนามาตรฐาน USB นี้ก็ได้ก่อตั้งเป็นองค์กรที่เรียกว่า USB-IF หรือ USB Implementers Forum, Inc. ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อการพัฒนาและสนับสนุนมาตรฐาน USB แบบไม่หวังผลกำไร ซึ่งก็ประกอบด้วยหลายๆ ส่วนด้วยกัน ทั้งในส่วนของการทดสอบ ส่วนบอร์ดบริหารที่มาจากหลายๆ บริษัท และส่วนอื่นๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกันไป โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ เพื่อการพัฒนาและสนับสนุนการใช้งานอุปกรณ์ และระบบบัสแบบ USB นั่นเอง
     ถ้าใครเคยใช้คอมพิวเตอร์ในยุคก่อนจะเห็นได้ว่าการเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มีความยากลำบากในการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ทั้ง Printer, Scanner, Modem หรือ Zip Drive ต่างๆ ไม่ว่าจะผ่านทาง Serial Port หรือ Parallel Port ซึ่งพวกนี้นอกจากจะต้องลง Driver เฉพาะสำหรับอุปกรณ์นั้นๆ แล้วยังมีข้อจำกัดที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมี Port นี้เพียงไม่กี่ Port อีกด้วย แถมการรับส่งข้อมูลผ่าน Port นี้ก็ยังช้าอีกด้วย ทางออกในสมัยนั้นก็เช่น อุปกรณ์ที่ต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงๆ ก็มักจะมาพร้อมๆ กับ Card ที่มี Port เฉพาะของมันเอง ซึ่งก็แน่นอนว่าจะต้องเปลืองที่ Slot บน Mainboard ในเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย แถมยังติดตั้งไม่ใช่ง่าย ๆ เลย ดังนั้น USB จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้นั่นเอง!
     ด้วยคุณสมบัติที่สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ได้หลากหลาย และสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ถึง 127 ตัว ต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว พ่วงด้วยความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า และง่ายต่อการติดตั้ง เพียงแค่ Plug เข้าไปก็ใช้งานได้เลยเพราะอย่างนี้ USB จึงกลายเป็นพระเอกขี่ม้าขาวที่เข้ามาแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดี ด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้มาตรฐาน USB ถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ จนมีราคาที่ถูกลงๆ และกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์เลยทำให้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ผลิตออกมาเพื่อรองรับ USB มากมาย
     USB สามารถ Apply เอามาใช้งานได้ เช่น Modem, Printer, Scanner, Keyboard, Mouse, WebCam ฯลฯ แม้กระทั้งอุปกรณ์ที่ไม่คิดว่าจะมาต่อกับ Port USB นี้ อย่างโคมไฟ หรือพัดลม ก็ยังขอเอากับเขาด้วย! ฮา...อุปกรณ์ต่างๆ ที่เคยใช้งานผ่าน Serial Port, Parallel Port ต่างๆ หนีมาใช้งานกันบน USB Port กันเกือบทั้งหมดแล้ว ทั้ง Printer, Scanner, Mouse, Keyboard, GamPad, JoyStick, กล้อง Digital, WebCam, Modem, อุปกรณ์บันทึกหน่วยความจำต่าง ๆ ทั้ง Zip Drive หรือ CD-Writer, Flash/USB/Thumb Drive, อุปกรณ์ด้าน Network รวมไปถึงอุปกรณ์อื่น ๆ เท่าที่คิดและสรรหามาใช้งานกันบน USB ก็เพราะด้วยความที่มันง่ายต่อการใช้งาน ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ซึ่งในปัจจุบันนี้ เราสามารถหาอุปกรณ์ USB ต่าง ๆ มาต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้โดยง่าย แค่ Plug เข้าไปก็ใช้งานได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Driver อะไรให้วุ่นวาย (ยกเว้นกับระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าๆ ที่ยังไม่รองรับ) อีกทั้งยังสามารถ Plug เข้าหรือถอดออกได้โดยไม่จำเป็นต้องปิด-เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ให้เสียเวลาอีกด้วย
USB ทำงานอย่างไร?
     ก่อนอื่น เรามาดูส่วนประกอบหลักก่อนนะคะ
     1. สายเคเบิ้ลของ USB คือ สายไฟ สายหมายเลข 1 จ่ายไฟ +5 Volt และ หมายเลข 4 เป็นสายดิน (Ground) สายข้อมูล คือ สายหมายเลข 2 และ หมายเลข 3
 
     การทำงานก็เป็นดังนี้ค่ะ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ระบบจะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่อพ่วงทาง Port USB แล้วจะกำหนด Address ให้แต่ละอุปกรณ์ เรียกว่า กระบวนการ "Enumeration" หรือเมื่อเราทำการ Plug อุปกรณ์เข้าไปยัง Port USB ปุ๊บ ระบบก็จะทำการตรวจสอบด้วยกระบวนการ "Enumeration" ทันที เพื่อตรวจสอบชนิดของข้อมูลที่จะทำการรับ หรือ จัดส่งให้กับอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเข้ามา ซึ่งแบ่งชนิดของข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ
          1.Interrupt - เสมือนเป็นการตอดรบกวน โดยส่งข้อมูลทีละน้อยๆ เช่น อุปกรณ์จำพวก Mouse หรือ Keyboard หรือ GamePad ต่างๆ จะทำการส่งข้อมูลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์คราวละเล็กน้อยเท่านั้น และจะส่งแบบไม่ต่อเนื่อง ตามแต่ลักษณะการใช้งาน
          2.Bulk - หรือการส่งข้อมูลคราวละมากๆ เป็นก้อนๆ เช่นการพิมพ์งาน ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ จะส่งข้อมูลให้กับเครื่องพิมพ์คราวละมากๆ เป็นต้น ซึ่งระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูลทั้งความถูกต้อง และความครบถ้วนด้วย
          3.Isochronous - หรือการส่งข้อมูลแบบต่อเนื่อง เป็น Stream เช่น พวก Speaker หรือ WebCam ที่จะมาการส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่องแบบ Real-Time ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ Host กับ อุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งใน Mode นี้ จะไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ว่าได้รับครบถ้วน ถูกต้องหรือไม่ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ Host นั้น จะส่งคำสั่ง หรือ query (ซักคำถาม) ไปยังอุปกรณ์ ผ่านทาง "Control Packet" โดยเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จะทำการกันเนื้อที่ 90% ของ Bandwidth ทั้งหมด ( USB 1.1 ที่ 12 Mbps และ USB 2.0 ที่ 480 Mbps ) สำหรับใช้งานการส่งข้อมูลแบบ Isochronous หากมีการใช้งานถึง 90% เมื่อไร ระบบก็จะทำการปฏิเสธการร้องขอในแบบ Interrupt และ Isochronous ที่เข้ามาใหม่ทันที โดย 10% ที่กันไว้นั้น จะไว้ใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Bulk และสำหรับ Control Packet ของ Host นั่นเอง
เกร็ดเล็กๆ เกร็ดน้อยๆ
     1.ปกติแล้วคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่เป็น Host ของระบบ USB เว้นเสียแต่อุปกรณ์สมัยใหม่บางอย่าง เช่นกล้อง Digital ที่สามารถต่อเข้ากับ Printer แล้วพิมพ์ภาพได้เลย โดยกล้อง Digital นั้น จะทำหน้าที่เป็น Host เอง
     2. เราสามารถต่ออุปกรณ์ USB เข้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวได้ถึง 127 ตัว ( อาศัย USB HUB ช่วยเพิ่มจำนวน Port )
     3.สายเคเบิ้ลของ USB แต่ละเส้นนั้น สามารถยาวได้ถึง 5 เมตร แต่ถ้าใช้ HUB เป็นตัวขยายสัญญาณ ก็จะสามารถต่อพ่วงได้ยาวที่สุด 30 เมตรเลยทีเดียว ผ่านสายเคเบิ้ล 6 เส้น เส้นละ 5 เมตร และ ใช้ HUB ช่วย 5 ตัว
     4.ความเร็วสูงสุดในการรับส่งข้อมูลของ USB 1.1 นั้น คือ 12 Mbps ( Megabits per second ) ความเร็วสูงสุดในการรับส่งข้อมูลของ USB 2.0 นั้น คือ 480 Mbps
     5.สายเคเบิ้ลของ USB นั้น ประกอบด้วยสายไฟ 2 เส้น คือสายไฟ 5 โวลต์ และ สายดิน และสายข้อมูลอีก 2 เส้น
     6.สายไฟในสายเคเบิ้ลของ USB นั้น จะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากถึง 500 มิลลิแอมแปร์ ด้วยพลังไฟ 5 โวลต์
     7.อุปกรณ์ที่ใช้ไฟเลี้ยงต่ำๆ เช่น Keyboard และ Mouse จะอาศัยไฟเลี้ยงโดยตรงจากระบบบัส USB
     8.อุปกรณ์ใหญ่ๆ ที่ใช้ไฟเลี้ยงสูง แม้จะมาพร้อมกับแหล่งจ่ายไฟของตัวเอง ( มีปลักไฟ ) แต่ก็จะยังอาศัยไฟเลี้ยงจากระบบบัส USB อีกด้วย
     9.อุปกรณ์ USB ทุกชนิด จะเป็นแบบ Hot-Swap คือ สามารถ Plug หรือ ถอดเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แม้ขณะเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอยู่ โดยไม่จำเป็นต้องปิด-เปิดเครื่องใหม่ ( แต่ก็ไม่ควรจะถอดออก ในขณะที่อุปกรณ์นั้นๆ ยังทำงานอยู่ )
    10.Mouse, Keyboard, GamePad และ/หรือ JoyStick นั้น ทำงานแบบ Interrupt ซึ่งต้องการความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเพียง 1.5 Mbps เท่านั้น
     11.อุปกรณ์ตามมาตรฐาน USB 1.1 สามารถใช้งานบนระบบบัส USB 2.0 ได้ แต่จะได้ Bandwidth สูงสุดเพียง 12 Mbps เท่านั้น
     12.อุปกรณ์ตามมาตรฐาน USB 2.0 ก็สามารถใช้งานบนระบบบัส USB 1.1 ได้เช่นกัน แต่ก็จะได้ Bandwidth สูงสุดที่ 12 Mbps เท่านั้น
     13.ลักษณะรูปกายภายนอกของอุปกรณ์ USB 1.1 และ USB 2.0 นั้น เหมือนกันทุกประการ ต้องอาศัย Label จากผู้ผลิต ซึ่งหากเป็น USB 2.0 ก็จะพยายามเน้นเป็นพิเศษ สังเกตจาก Label ได้ไม่ยาก
 


http://www.thaigoodview.com/node/335